นิตยสารโอ-ลั้นลา
คอลัมน์ : Dish of Nutrition
หลายปีที่ผ่านมา 'มะรุม' เป็นหนึ่งในพระเอกสมุนไพรดาวรุ่ง
ด้วยมีข่าวสารเกี่ยวกับสรรพคุณอันน่าทึ่งว่าสามารถป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้
ถ้าคุณเคยฟังเพลงนี้
“ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษ ที่จะเสกปราสาทงามให้เธอ...ไม่มีอำนาจใด ประหนึ่งเจ้าชายจะสำแดง”
เราคิดว่าเพลงนี้ช่างเหมาะกับความเชื่อเกี่ยวกับมะรุมจริงๆ หลังจากที่ได้ไปสัมภาษณ์ ผศ.ดร. ชนิพรรณ บุตรยี่ ประธานหลักสูตรปริญญาโทสาขา พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยส่วนตัวอาจารย์มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องมะเร็งลำไส้ เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งอาการสำคัญหนึ่งของโรคนี้คือการอักเสบ
จากการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลพืชผักหลายชนิด อาจารย์ชนิพรรณพบว่า 'มะรุม' เป็นผักสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการลดอักเสบที่ดีมาก จึงนำมาสู่การศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงโดยศึกษากับสัตว์ทดลอง
“มะรุมมีหลายส่วนทั้งใบและฝัก แต่เราเป็นสถาบันโภชนาการ จึงเลือกศึกษาฝักมะรุมซึ่งรวมถึงเนื้อและเมล็ด เพราะเป็นการกินเชิงอาหารมากกว่าเชิงยา”
“จากผลการศึกษา สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ถ้ากินในเชิงป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ กินโดสสูงดีกว่า โดสต่่า แต่ถ้าเป็นมะเร็งลำไส้แล้วกิน ให้กินโดสหรือปริมาณน้อยๆ จะดีกว่าโดสสูง”
คุณสมบัติในการป้องกันและต้านภาวะอักเสบของมะเร็งลำไส้ใหญ่ของฝักมะรุมต้ม (ทดสอบในสัตว์ทดลอง)
อาจารย์เล่าเสริมว่าตอนแรกเห็นผลออกมาแบบนี้ก็แปลกใจเหมือนกัน แต่พอไปศึกษาเพิ่มเติมก็พบงานวิจัยของต่างประเทศที่ให้ผลเช่นเดียวกัน ต่อมาเมื่อศึกษาพืชอีกตัวหนึ่ง คือ ผักชีฝรั่ง ผลก็ออกมาในแนวทางเดียวกัน จึงอธิบายได้ว่าสภาพร่างกายของ 'คนปกติ' กับ 'ผู้ป่วย' มีความเสี่ยงต่างกัน เมื่อเป็นมะเร็งแล้ว การกินอะไรเสริมเข้าไปมากๆ ไม่ได้ช่วยให้ดีไปกว่าโดสต่่า
“ที่อยากย้ำให้ผู้บริโภคเข้าใจคือ งานวิจัยนี้ทำกับฝักมะรุมต้ม แต่มะรุมในรูปแบบสารสกัดมักทำมาจากใบ คุณสมบัติในเชิงป้องกันมะเร็งลำไส้ อาจจะไม่เหมือนกัน และการทานมะรุมไม่สามารถรักษาให้มะเร็งหายขาดได้ แต่ช่วยในแง่ว่าทาให้การอักเสบลดลง ขนาดก้อนมะเร็งเล็กลง ดังนั้นต้องไม่ทิ้งการรักษาแนวทางหลัก”